MOO-dbug

21-08-2565

สำหรับคนจัดสเปคคอมพิวเตอร์ หรือประกอบคอมพิวเตอร์แบบเลือกเอง (Custom PC) จะต้องเคยได้ยินศัพท์ทางคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง คือ การระบายความร้อนด้วยน้ำเป็นอย่างแน่แท้ ซึ่งหลายคนอาจจะกำลังอยากรู้ อยากลองเล่นจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิด หรือหาความรู้เกี่ยวกับการระบายความร้อนด้วยน้ำอยู่

            วันนี้ทางเรา D-BUG Computer จึงได้โอกาสดีในการเขียนบทความ D-BUG พาลุย! คอมชุดน้ำเปิดดีอย่างไร ทำไมหลายคนถึงใฝ่ฝันที่จะอยากจัดมันนัก ซึ่งในบทความที่แล้ว เราได้พูดคุยกันในเรื่องของ การจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิดกันไปแล้ว และยังมีเรื่องของความแตกต่างระหว่างชุดน้ำเปิด และน้ำปิดกันอีกด้วย ซึ่งใครยังไม่ได้อ่าน ให้กดอ่านก่อนเลย >> คลิกอ่าน สำหรับคนที่อ่านแล้ว วันนี้เรามาถึงบทสุดท้าย สำหรับคนที่จัดคอมชุดน้ำเปิดมาแล้ว จะต้องมีวิธีดูแลชุดน้ำเปิดอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

1. การดูแลตั้งแต่ประกอบเครื่องเสร็จ

ต้องบอกเลยว่า การดูแลชุดน้ำเปิดนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ประกอบคอมชุดน้ำเปิดเสร็จเลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการทดสอบทุกครั้ง ด้วยวิธีการพิเศษ นั่นก็คือ

  • ขั้นตอนที่ 1 ใช้อุปกรณ์จั๊มไฟ PSU เสียบ PSU ก่อนเสียบไฟเข้าคอมพิวเตอร์จริงๆ อุปกรณ์ตัวนี้ จะช่วยหลอกให้ PSU ของเรา เข้าใจว่าต่อไฟเข้าเมนบอร์ดอยู่ โดยที่เราไม่ได้จ่ายไฟเข้าเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์จริงๆ (และไม่ได้ต่อสายเข้าอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยนะ) โดยเราจะต่อไฟเข้ากับ ปั๊มน้ำเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้ต่อไป เราสามารถเปิดเครื่องได้ โดยที่ ปั๊มน้ำจะทำงานเพื่อหมุนเวียนระบบทันที 

  • ขั้นตอนที่ 2 นำผ้าที่ซับน้ำได้ หรือ กระดาษทิชชู่ รองอุปกรณ์สำคัญๆ อย่างเช่น การ์ดจอ ฮาร์ดดิส ด้วยปริมาณที่หนาพอสมควร เพื่อป้องกันการเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น น้ำแตก เป็นต้น

  • ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบเปิดเครื่องเมื่อรองอุปกรณ์กันน้ำ และจั๊มไฟ PSU แล้ว ให้ทดลองต่อไฟเข้าระบบ และเปิดเครื่องได้เลย โดยให้ระมัดระวังเรื่องของไฟฟ้าดูดด้วย

  • ขั้นตอนที่ 4 เฝ้าระวังและติดตามในขั้นตอนนี้ ให้เราเปิดเครื่องทิ้งไว้ 1 – 3 ชั่วโมง เพื่อดูว่า น้ำไหลเวียนเป็นระบบดีหรือไม่ มีจุดไหนรั่วซึมรึเปล่า มีอากาศเข้าน้ำหรือไม่ ซึ่งหากไม่มีการรั่วซึม ให้เราทำการต่อไฟเข้าเมนบอร์ดแบบปกติได้เลย (แต่ยังรองผ้าไว้อยู่) และให้ทดลองเปิดเครื่องใช้งานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากยังไม่มีปัญหา จึงค่อยๆ เอาผ้าออกได้ครับ

ซึ่งต้องบอกเลยว่า ทางเรา D-BUG Computer แนะนำให้ตรวจสอบอย่างละเอียด หากจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิดกับร้านที่เราไม่คุ้นเคย หรือ ประกอบเอง เพราะชุดน้ำเปิดมีโอกาสีรั่วได้มากถึง 99% เลยทีเดียว

ต้องบอกเลยว่า การดูแลชุดน้ำเปิดนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ประกอบคอมชุดน้ำเปิดเสร็จเลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการทดสอบทุกครั้ง ด้วยวิธีการพิเศษ นั่นก็คือ

2. การดูแลและเฝ้าระวัง

เมื่อเราเช็คเครื่องและเปิดใช้งานได้แล้ว ให้เราบันทึกอุณหภูมิที่ดีที่สุด เก็บเอาไว้ด้วย เพราะหากใช้งานระบบน้ำเปิดเป็นประจำ สิ่งที่ต้องคอยสังเกตก็คือ อุณหภูมิของเครื่อง และระบบหมุนเวียนของน้ำ ซึ่งจะสอดคล้องกัน

  • Step 1 หากอุณหภูมิคอมพิวเตอร์สูงกว่าปกติ ให้สังเกตว่า ระบบน้ำหมุนเวียนดีหรือไม่ หากเรามีการติดตั้ง โฟล์ว (Flow) จะทำให้ดูได้ง่ายขึ้น

  • Step 2 หากระบบน้ำหมุนเวียนไม่ดี นั่นหมายความว่า น้ำร้อนไม่ถูกระบายอุณหภูมิออก ปั๊มอาจจะเสีย หรือ

  • Step 3 หม้อน้ำมีปัญหา มีการรั่วซึม หรือ มีความสกปรกในทางเดินของน้ำ สะสมไปยัง หม้อน้ำ ท่อ และ บล็อก CPU ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ระบายความร้อนช้านั่นเอง

3. การดูแลระยะยาว

น้ำรั่ว น้ำซึม เป็นเรื่องปกติของนักเล่นคอมชุดน้ำเปิด ซึ่งหลักๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟช๊อตทันที เพราะน้ำกลั่นแท้ เมื่อเกิดการรั่วซึม จะไม่นำไฟฟ้าทันที แต่ ให้กังวลเรื่องของ ฝุ่น เพราะฝุ่นในคอมพิวเตอร์ เมื่อผสมกับน้ำที่รั่วแล้ว จะทำให้นำไฟฟ้าได้ และจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้อุปกรณ์ช๊อตได้มากที่สุด ดังนั้น

  • เคสคอมพิวเตอร์ควรเป็นเคสที่มีกรองฝุ่น และหมั่นทำความสะอาดฝุ่นอย่างน้อย 3 เดือน

  • ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ใกล้คอมพิวเตอร์ เพราะขนสัตว์จะทำให้จับฝุ่นเข้าเครื่องได้มากขึ้น และยังทำให้ การระบายความร้อน ช้าด้วย

  • หากคอมพิวเตอร์เรามีฝุ่นเยอะ จะทำให้น้ำร้อนไม่ถูกทำให้เย็น และมีโอกาสน้ำร้อนมากขณะใช้งานหนัก จนเกิดความดัน ดันท่อให้แตกได้ ซึ่งวิธีป้องกันคือการ ซื้อ ฟิตติ้งความดันต่ำ เพื่อระบายอากาศส่วนเกิน 

  • และหากเรามีฝุ่นเยอะ จะทำให้โอกาสที่น้ำรั่วจับกับฝุ่นมีสูง นั่นหมายความว่า เมื่อน้ำแตก อุปกรณ์คอมเราก็จะมีโอกาสรอดน้อยลง เมื่อเทียบกับคอมที่ไม่มีฝุ่น จะช่วยเซฟชีวิตอุปกรณ์ได้นานขึ้น มีเวลาให้ปิดเครื่อง เช็ด + ถ่ายน้ำออก นั่นเอง

  • สาเหตุของการอุดตัน หลักๆ เกิดจาก น้ำกลั่นคูแลนซ์ไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะน้ำสีต่างๆ จะต้องเปลี่ยนอย่างน้อยทุกๆ 3 เดือน หรือ เมื่อน้ำมีสีที่ขุ่นขึ้น สีที่เปลี่ยนไป ต้องเปลี่ยนทันที น้ำสีทำให้สวยก็จริง แต่ก็ต้องแลกมากับการดูแลที่ต้องใกล้ชิดกว่าเดิม เปลี่ยนถ่ายบ่อยกว่าเดิมนั่นเอง ดังนั้น น้ำกลั่นที่ดีที่สุด คือน้ำกลั่นเติมหม้อน้ำรถยนต์แบบบริสุทธิ์ ที่ไม่มีสารเพิ่มเติมใดๆ น้ำจะมีสีขาว ใส และอยู่ได้นานถึง 1 ปีเลย

สรุป

การดูแลชุดน้ำเปิดนั้นค่อนข้างต้องใส่ใจกับมันมากๆ เสมือนการดูแลรถยนต์เลยทีเดียว เพราะหากเราใช้อย่างเดียว จะทำให้เกิดปัญหาจุกจิกขึ้นมาได้เสมอ โดยเฉพาะปัญหาน้ำรั่ว น้ำแตก ซึ่งหากต้องการจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิดล่ะก็ ทางเรา D-BUG Computer ขอให้คำแนะนำและดูแลคุณลูกค้าทุกท่าน ด้วยบริการที่ยอดเยี่ยม และมั่นใจได้กับการประกอบที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานการรับประกันที่ครอบคลุม ละไว้วางใจได้อย่างแน่นอน สำหรับบทความทั้งสามบทเกี่ยวกับ คอมชุดน้ำเปิด ก็ได้จบลงเพียงเท่านี้ หากใครยังไม่ได้อ่าน ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สามารถย้อนอ่านได้ในลิงค์ด้านล่าง สำหรับใครที่ชอบบทความของทางเรา D-BUG Computer ก็สามารถรอติดตามบทความใหม่ๆ ได้ในเว็บไซต์ของพวกเราเลยครับ

3. Radiator Fan (พัดลมเป่าหม้อน้ำ) พัดลมเป่าหม้อน้ำจะมีหน้าตาเหมือนกันกับพัดลมคอมพิวเตอร์ทั่วไป (Fan Case) ซึ่งมีทั้งหน้าตาสวยงามมีไฟ RGB หรือเรียบๆ ซึ่งใช้ตบแต่งเคสคอมได้ แต่จะแตกต่างตรง พัดลมเป่าหม้อน้ำจะมีรอบที่สูงมากๆ และมีค่า Air Flow ที่ดีเป็นพิเศษ และพัดลมเป่าหม้อน้ำที่ดีจะต้องมีเสียงที่เงียบระดับหนึ่งด้วย เพื่อการระบายความร้อนให้หม้อน้ำโดยเฉพาะ พัดลมแบบนี้สามารถนำมาใช้แทนพัดลมเคส (Fan Case) ปกติได้ แต่อาจจะไม่คุ้มค่าเพราะราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

4. Fitting (ฟิตติ้ง) ฟิตติ้งเป็นอุปกรณ์สำหรับรัดอุปกรณ์ต่างๆ ให้เชื่อมต่อกัน โดย Fitting จะมีส่วนของยางที่ใช้ในการกันน้ำรั่วซึม ฟิตติ้งสำคัญมาก เพราะหากประกอบ จัดสเปคคอมชุดน้ำเปิด ไม่ดีล่ะก็ โอกาสที่ใช้งานแล้วน้ำแตกมีสูงมากเลยทีเดียว

5. ท่อหรือสายยาง (Tube) อยากจะให้น้ำเดินไปยังที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง ก็ต้องไหลเวียนผ่านท่อหรือสายยาง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันพอสมควร หากเราจะจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิด ให้พิจารณาสามสิ่งนี้ให้ดี- แบบสายยางประกอบได้ง่ายกว่ามาก แต่มีความแข็งแรง คงทน น้อยกว่า และมีความสวยงามน้อยกว่า มีราคาถูกกว่า ยืดหยุ่นได้ง่ายกว่า ประกอบได้ง่ายกว่า- แบบท่อ มีทั้งแบบ วัสดุ Acrylic (อะคริลิค) และ วัสดุ PETG แบบท่อจะสวยงามกว่า เพราะสามารถเดินท่อได้ตามจุดต่างๆ เป็นระเบียบมากกว่า ราคาสูงกว่า และติดตั้งยากกว่า เพราะจะต้องดัดท่อ ผู้ติดตั้งต้องใช้ฝีมือพอสมควร- ท่อ อะคริลิค แพงกว่า ดีกว่า สวยใสกว่า ทนความร้อนกว่า แตกหักยากกว่า ท่อ PETG ทุกอย่าง ส่วนท่อ PETG นั้นด้อยกว่า อะคริลิคทุกอย่าง เพียงแค่ ถูกกว่า ดัดให้สวยได้ง่ายกว่า

6. ปั๊มน้ำและถังพักน้ำ (Pump and tank) ปั๊มน้ำจะเป็นอุปกรณ์ในการสูบดันน้ำ ให้หมุนเวียนไปทั่วระบบ โดยจะส่งน้ำไปยัง ถังพักน้ำ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการหมุนเวียนกันระหว่างน้ำร้อนกับน้ำเย็น ปั๊มและถังพักน้ำเปรียบเสมือนหัวใจของการจัดสเปคคอมชุดน้ำเปิดเลยก็ว่าได้ 

7. อุปกรณ์เสริมอื่นๆเช่น น้ำกลั่น (Coolance) อุปกรณ์การติดตั้ง วาล์ว กังหันโฟล์ว ข้อต่อต่างๆ 

คอมชุดน้ำปิดต่างกับคอมชุดน้ำเปิดอย่างไร

  • คอมชุดน้ำปิด ถูกทำมาให้ติดตั้งง่ายขึ้น และเป็นชิ้นหนึ่งชิ้นเดียวกัน จึงถูกตัดอุปกรณ์จากชุดน้ำเปิดออกมากมาย ซึ่งจะเหลือแค่อุปกรณ์สำคัญๆ อย่าง CPU Block (บล็อก CPU) , Radiator (หม้อน้ำ) , Fitting ไม่เกิน 5 อัน , มีแต่สายยางไม่มีท่อ , และปั๊มน้ำเพียงอย่างเดียว

  • ด้วยอุปกรณ์ที่ลดลงเยอะ ทำให้ระบบน้ำปิด มีราคาถูกกว่า ระบบน้ำเปิดอย่างมาก หลายเท่าตัวเลยทีเดียว

  • เนื่องจากไม่มีระบบถังพักน้ำ ระบบน้ำปิด จึงมีการสะสมความร้อนที่มากกว่า ระบบน้ำเปิด เมื่อเปรียบเทียบในสเปคอื่นที่เท่ากัน - เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานหนัก 100% น้ำเปิด จะให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่ดีกว่าน้ำปิดเสมอ- เมื่อคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำงานหนัก (Idle) น้ำเปิด ก็สามารถลดอุณหภูมิให้คอมเย็นลงมากที่สุด มากกว่าน้ำปิดเสมอ - ทั้งน้ำเปิดและน้ำปิด ไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า อุณหภูมิห้องได้

  • คอมชุดน้ำเปิดสวยกว่าชุดน้ำปิดหลายเท่า เนื่องจากสามารถใช้ท่อ ในการเดินทางน้ำได้ ซึ่งน้ำปิดมักจะใช้ได้แค่สายยางเท่านั้น และสามารถเดินทางน้ำได้รูปแบบตามที่ใจเราต้องการ สามารถออกแบบได้เลย

  • คอมชุดน้ำเปิด สามารถปรับแต่งได้แทบทุกอย่างในระบบ ทั้งความสวยงามของ บล็อก CPU , สเปคของหม้อน้ำ , ความสวยงามของถังพักน้ำ , ความแรงปั๊ม , วัสดุของ ฟิตติ้ง เช่น สีเงิน สีทอง สีดำ แม้แต่ สีของน้ำก็สามารถปรับแต่งได้ ในขณะที่คอมชุดน้ำปิด ไม่สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมใดๆ ได้เลย สามารถเลือกความสวยได้อย่างจำกัด

  • คอมชุดน้ำเปิดติดตั้งยากกว่าน้ำปิดหลายเท่ามากนัก ต้องมีประสบการณ์ มีความสามารถ หากทำไม่เป็น มีโอกาสที่น้ำจะรั่ว มากกว่าน้ำปิด 99% ในขณะน้ำปิดนั้นผ่านการควบคุมมาตรฐานจากโรงงานมาแล้ว 

เพิ่มเพื่อน LINE

และที่สำคัญ คอมชุดน้ำเปิด ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งในบทความนี้ ทางเรา D-BUG Computer ของจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วในบทความหน้า เราจะมาพูดถึงวิธีการดูแลคอมชุดน้ำเปิดกัน