จัดสเปคคอมฯเอง ต้องเลือกดูอะไรบ้าง D-BUG COMPUTER

จัดสเปคทั้งเครื่องเอง ต้องเลือกอะไรบ้าง [Custom PC]

สำหรับคนที่กำลังจะประกอบคอมในตอนนี้ ทางเรา D-BUG Computer มีสาระดีๆ มาบอกต่อ ว่าหากเราต้องการจัดสเปคเครื่องแบบตามใจฉัน หรือที่เรียกกันว่า Custom PC ซึ่งข้อดีคือจะเราจะได้สเปคของอุปกรณ์ที่ถูกใจเราแทบทุกอุปกรณ์ และสามารถควบคุมงบประมาณได้อีกด้วย แต่จะมีวิธีการเลือกอุปกรณ์แบบเบื้องต้นอย่างไรไปดูกัน!

ชิ้นที่ 1 – CPU (ซีพียู)

 

CPU คือส่วนที่สำคัญที่สุดในคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนมันสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีการเลือก CPU เราจะต้องประมาณการใช้งานของเรา ว่าเราใช้งานหนักเบาแค่ไหน ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามการใช้งาน ดังนี้

รุ่นเริ่มต้น - ทำงานออฟฟิศ ท่องเว็บทั่วไป เล่นเกมพอใช้ได้
เลือกใช้ Intel core i3 หรือ AMD Ryzen 3 ขึ้นไป
รุ่นกลาง - เล่นเกมหนักขึ้นมาอีกระดับ
เลือกใช้ Intel Core i5 หรือ AMD Ryzen 5 ขึ้นไป
รุ่นสูง - เล่นเกมหนักหน่วง ตัดต่อ หรือ สตรีมเกมเพิ่มด้วย
เลือกใช้ Intel Core i7 หรือ AMD Ryzen 7 ขึ้นไป
รุ่นเรือธง - เล่นเกมระดับฮาร์ดคอร์ ใช้คอมทำงานขั้นสูง หารายได้
เลือกใช้ Intel Core i9 หรือ AMD Ryzen 9

เกร็ดความรู้

สำหรับ CPU Intel ในรุ่น K จะมีสเปคที่ดีกว่ารุ่นปกติ รวมถึงสามารถ Overclock เพิ่มได้ด้วย เช่น Intel core I7-12700K
สำหรับ CPU AMD จะสามารถ Overclock ได้ทุกรุ่น แต่ในรุ่น X จะมีคุณภาพชิปที่ดีกว่า สามารถ Overclock ได้ไกลกว่า เช่น AMD Ryzen 5800X

ชิ้นที่ 2 – Graphic Card (การ์ดจอ)

 

การ์ดจอเป็นอุปกรณ์เพื่อประมวลผลภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอบสนองการเล่นเกมเป็นหลัก ซึ่งหากต้องการเน้นการเล่นเกมระดับสูงมากเท่าไหร่ ก็ต้องเลือกสเปคการ์ดจอที่สูงขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งสำหรับบางคนแล้ว อาจจะสามารถใช้การ์ดจอสำหรับทำงานเฉพาะทางเสริมได้อีกด้วย


แบบที่ 1 - No Graphic Card (ไม่มีการ์ดจอแยก)

แบบแรกนี้ เหมาะสำหรับคนที่งบประมาณน้อย ต้องการประกอบคอมเปิดติดใช้งานทั่วไป ที่ไม่ได้เน้นในส่วนของการประมวลผลกราฟิกมาก ให้เลือกใช้ CPU รุ่นที่มีชิป GPU ติดตั้งมาให้ในตัว

สำหรับคนที่ใช้ทำงานเป็นหลักทางเรา D-BUG Computer ขอแนะนำ Intel core ที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel UHD Graphic ที่ไม่มีรหัส F KF ต่อท้าย เช่น Intel core i3-12100 , Intel Core i5-12600K เป็นต้น

สำหรับคนที่ใช้เล่นเกมเป็นหลักทางเรา D-BUG Computer ขอแนะนำ AMD Ryzen G Series (5600G , 5700G)ที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก AMD Radeon Vega 8 ที่สามารถใช้เล่นเกมในระดับเริ่มต้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการ์ดจอแยกเลยทีเดียว

แบบที่ 2 – Graphic Card ระดับเริ่มต้น

แบบที่ 2 นี้สำหรับคนที่เริ่มซีเรียสเรื่องการเล่นเกมขึ้นมาประมาณหนึ่ง ต้องใช้การ์ดจอแยกรุ่นเริ่มต้นไปจนถึงระดับกลาง ซึ่งสามารถใช้เล่นเกมด้วยจอ Full HDโดยสามารถปรับภาพให้สวยในระดับกลางได้ รุ่นที่แนะนำคือ Nvidia GeForce GTX1650 ขึ้นไป หรือ AMD Radeon RX6500 XT ขึ้นไป

แบบที่ 3 – Graphic Card ระดับกลาง

แบบที่ 3 นี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกราฟิกการ์ดทันยุคทันสมัย ที่สามารถปรับภาพระดับกลางถึงสูง ในจอ FULL HD ได้ และอาจจะมีการใช้เทคโนโลยี DLSS เพื่อประมวลแสงเงาให้สวยสมจริงขึ้น (ใน Nvidia) ทางเรา D-BUG Computerขอแนะนำ Nvidia GeForce RTX3060 ขึ้นไป หรือ AMD Radeon RX 6600 ขึ้นไป

แบบที่ 4 – Graphic Card ระดับสูง

เหมาะสำหรับคนที่ใช้จอระดับที่ละเอียดกว่า Full HD เช่น จอ 4K UHD หรือ จอ 2K QHD ซึ่งจอเหล่านี้จะใช้สเปคกราฟิคอย่างสูงเลยทีเดียว และจะได้ภาพที่คมชัด สวยงามไร้ที่ติอย่างแน่นอน ซึ่งทางเรา D-BUG Computer ขอแนะนำ Nvidia GeForce RTX3070Ti ขึ้นไป หรือ AMD Radeon RX6800XT ขึ้นไป
และเมื่อเลือกชิปการ์ดจอได้แล้ว อย่าลืมเลือกแบรนด์การ์ดจอที่ชอบด้วยล่ะ

ชิ้นที่ 3 – Motherboard (เมนบอร์ด)

 

 

เมนบอร์ดมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกอุปกรณ์ให้ทำงานร่วมกัน วิธีการเลือกเมนบอร์ดที่ง่ายที่สุด นั่นก็คือ การเลือกตามแบบที่เราใช้งาน หากเราต้องการใช้งานขนาดไหนก็ให้เลือกคุณสมบัติขนาดนั้น เช่น ต้องการใช้งาน SSD M.2 จำนวน 2 ตัว แต่เลือกเมนบอร์ด ที่มีเมนบอร์ดที่มีพอร์ต M.2 SSD พอร์ตเดียว แบบนี้ก็จะไม่สมเหตุสมผล
และอีกอย่างคือ สำหรับคนที่ต้องการใช้งาน CPU แบบ Overclock เพิ่ม จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีสเปคชิปเซ็ทและภาคจ่ายไฟที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ CPU OC ได้อย่างสเถียรด้วย

ชิ้นที่ 4 – Memory & Storage (แรมและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล)

 

สำหรับ Memory ในส่วนนี้คือ Ram นั่นเอง ซึ่งเน้นเลือกความจุที่เหมาะสมต่อการใช้งานในปัจจุบัน คือไม่ต่ำกว่า 8GB
ในส่วนของ Storage จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ Storage สำหรับติดตั้งวินโดว์ และ Storage จัดเก็บข้อมูลสำรอง

ในส่วนของอุปกรณ์ติดตั้งวินโดว์

จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความเร็วในการอ่านเขียนสูง เหมาะสำหรับรันโปรแกรม ทางเรา D-BUG Computer ขอแนะนำ SSD แบบ M.2 PCIe NVMe ซึ่งจะมีความเร็วในการอ่านเขียนสูง เหมาะสำหรับการทำงานหรือโหลดไฟล์เกม

ในส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรอง

จะเป็นไดร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ C ในส่วนนี้สามารถเลือกได้ตามใจชอบ ถ้าต้องการความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล ทางเราขอแนะนำให้ใช้ SSD แบบ M.2 Sata เป็นไดร์สำรอง เพราะมีความเร็วที่ใช้ได้ และไม่มีราคาแพงจนเกินไป
แต่ถ้าหากต้องการใช้ความจุจำนวนมากกว่า 1 TB และต้องการความนิ่งในการเก็บข้อมูลที่สำคัญ ทางเราขอแนะนำเป็น HDD 3.5 SATA จะคุ้มค่ามากกว่า

ชิ้นที่ 5 – Power Supply (PSU)

 

ถ้า CPU เป็นเหมือนมันสมองของคอมพิวเตอร์ Power Supply ก็เปรียบเสมือน หัวใจของคอมพิวเตอร์ Power Supply ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองลงมาจาก CPU เลยก็ว่าได้ โดยหาก Power Supply ไม่มีคุณภาพ อาจจะส่งผลร้ายต่อคอมพิวเตอร์ถึงกับขนาดไฟช๊อต หรือไฟไหม้เลยทีเดียว โดยหากคุณมีงบประมาณสักหน่อยขอให้ลงทุนกับ PSU ดีๆ สักนิด ก็สามารถทำให้สบายใจเรื่องไฟฟ้าไปได้มากกว่า 5 ปีได้เลย

วิธีการเลือก PSU ที่ดีนั้นดูไม่ยาก

ให้คำนวณอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ของเรา ว่ากินไฟตอนทำงานสูงสุด (Full load) ประมาณกี่วัตต์ แล้วเลือกจาก จำนวน วัตต์ (W) ของ PSU ให้เหมาะสม
เช่น CPU กินไฟ 150W การ์ดจอกินไฟ 175W เมนบอร์ด Ram และอุปกรณ์อื่นๆ อีก 200W จะรวมได้ประมาณ 525W ดังนั้น เราควรเลือก PSU ที่มีความจุ 750W ขึ้นไปนั่นเอง

คุณภาพของ PSU ก็จะต้องได้รับมาตรฐาน 80+

ซึ่งสามารถเช็คสเปคข้างกล่องได้เลย ซึ่งระดับของ 80+ จะบ่งบอกถึงอัตราสูญเสียพลังงานในการแปลงไฟบ้านมาเป็นไฟเลี้ยงคอมพิวเตอร์ ยิ่งระดับสูง แปลว่า PSU ตัวนี้ สูญเสียพลังงานน้อย หรือมีความสเถียรมากนั่นเอง โดยระดับของ PSU จะมีตั้งแต่ 80+ White, bronze, silver, gold, platinum เป็นต้น

ชิ้นที่ 6 – Case และ CPU Cooler

 

ชิ้นสุดท้ายนั่นก็คือ เคส และ CPU Cooler ซึ่งเจ้าเคสคอมเนี่ย ถ้าว่ากันตามตรง เรามักจะเลือกจากหน้าตาภายนอกเสียมากกว่า ถูกใจตัวไหน ก็ซื้อตัวนั้น แต่จริงๆ การเลือกเคส มันก็มีแนวทางของมันเล็กน้อย

ซึ่งขนาดของเคสก็จะต้องสัมพันธ์กับขนาดเมนบอร์ด ที่มีตั้งแต่ ITX , m-ATX , ATX , E-ATX ซึ่งขนาดของเคสก็จะใหญ่ตามเมนบอร์ดถึงจะสมดุล และการเซ็ทอัพอุปกรณ์ต่างๆ ต้องไม่แน่นจนเกินไป มีพื้นที่สำหรับระบายอากาศ เข้า ออก ที่ดีด้วย (Airflow)

ในส่วนของ CPU Cooler นั้น ควรเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับรุ่นของ CPU หากเป็น CPU รุ่นใหญ่ๆ มักจะไม่มี Heatsink แถมมาให้ เราต้องทำการซื้อ CPU Cooler เพิ่มเอง ซึ่งทางเราขอแนะนำหลักการการเลือก CPU Cooler ให้ดังนี้

เครื่องเล็กๆ เสปคบ้านๆ - ใช้ ชุดระบายความร้อนแบบลม (CPU Air Cooler) แถมจาก CPU
เครื่องเล็ก สเปคแรง - ใช้ ชุดระบายความร้อนแบบลม CPU Air Cooler ที่มีคุณภาพ เช่น be Quiet Dark Rock 4
เครื่องใหญ่ สเปคแรง - หากมีพื้นที่สำหรับติดตั้งหม้อน้ำ สามารถเลือกที่จะใช้ ชุดระบายความร้อนแบบน้ำ อย่าง Water Cooling Aio ได้

ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง ชุดระบายความร้อนแบบลม กับ ชุดระบายความร้อนแบบน้ำ คือ

ชุดระบายความร้อนแบบลม

  • ติดตั้งง่าย
  • ใช้พื้นที่น้อย
  • ไม่ต้องดูแลบำรุงรักษามาก เพียงแค่ปัดฝุ่นก็ใช้ได้
  • ไม่เสี่ยงต่อการรั่วซึมของน้ำ ใช้ได้ยาวๆ
  • ส่วนมากจะร้อนกว่าแบบน้ำค่อนข้างมาก
  • ถ้ารุ่นที่ระบายความร้อนดีๆ จะใหญ่และหนักเมนบอร์ดมาก
  • บางรุ่นพัดลมเสียงดังมาก

ชุดระบายความร้อนแบบน้ำ

  • ส่วนใหญ่ เย็นกว่าลมมาก สามารถคงอุณหภูมิให้เย็นเท่าอุณหภูมิห้องเลยทีเดียว
  • ตัวบล็อก จะเล็ก สวยงาม ไม่เกะกะ
  • เงียบกว่าลมมาก
  • ติดตั้งยากกว่า ใช้พื้นที่มากกว่า
  • ต้องหมั่นบำรุงรักษา หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน (น้ำรั่ว ซึม) ต้องดูแลอย่างทันท่วงที
  • อายุการใช้งานน้อยกว่าลม
  • ราคาแพงกว่า

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็ตามแต่เราชอบ สะดวกใช้ชุดระบายความร้อนแบบไหน ก็อย่าลืมเลือก Fan Case คุณภาพดีด้วย เพื่อติดตั้งในเคสให้ถ่ายเทความร้อนออกจาก CPU Cooler ได้อย่างทันท่วงที จะช่วยให้คอมเราเย็นขึ้นได้เยอะเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ ทางเรา D-BUG Computer ก็หวังว่าบทความนี้ จะช่วยในการให้ท่านจัดสเปคทั้งเครื่องเอง แบบตามใจชอบได้ ไม่น้อยเลย

หากใครสนใจอยากลองจัดสเปคด้วยตนเอง
สามารถจัดสเปคออนไลน์ได้ที่นี่ >> คลิก

 

ทั้งนี้คอมประกอบจาก D-BUG COMPUTER พร้อมให้บริการ

  • ประกอบแบบเนี๊ยบตามสไตล์ D-BUG Computer หรือเลือกซื้อเป็นชิ้นไม่ประกอบก็ได้
  • ตรวจเช็คหน้างานอย่างละเอียด ก่อนส่งมอบ
  • สินค้าทุกชิ้นเป็นของใหม่มือหนึ่งแกะกล่อง ประกัน 3 ปี
  • บริการจัดส่งถึงหน้าบ้านท่าน
  • บริการช่วยเหลือผ่านระบบรีโมทแก้ไขปัญหาให้ท่านภายใน 24 ชั่วโมง
  • พร้อมรับบริการหลังการขาย 8 รายการฟรี ตลอดอายุการใช้งาน

สามารถดูภาพผลงานของเราได้ที่นี่ >> คลิก

D-BUG บริการหลังการขาย
D-BUG ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
กลับไปยังบล็อก