MOO-dbug

07-17-2565

หากใครที่กำลังจะซื้อ CPU ใหม่ในช่วงนี้ มักจะมีคำถามยอดฮิตที่ถามกันมาอย่างหนาหู ทุกยุคทุกสมัยอย่าง Intel กับ AMD ต่างกันอย่างไร? วันนี้ทางเรา D-BUG Computer จึงขอส่งบทความนี้เป็นข้อมูลดีๆ เพื่อให้ทุกคนใช้ในการประกอบการตัดสินใจ 

ต้องบอกเลยว่า ปี 2022 นี้จัดว่าเป็นปีทองของ CPU เลยทีเดียว เพราะทั้ง INTEL และ AMD ก็ต่างแข่งขันกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ซึ่งทั้งสองค่ายเองก็มีฐานแฟนบอยด์อยู่ไม่น้อยเลย และทั้งสองค่ายก็ล้วนผ่านจุดตกต่ำไปหมดแล้วทั้งสิ้น ทำให้ตลาดในช่วงต่อจากนี้น่าสนใจมากๆ 


หากใครที่กำลังจะซื้อ CPU ใหม่ในช่วงนี้ มักจะมีคำถามยอดฮิตที่ถามกันมาอย่างหนาหู ทุกยุคทุกสมัยอย่าง Intel กับ AMD ต่างกันอย่างไร? วันนี้ทางเรา D-BUG Computer จึงขอส่งบทความนี้เป็นข้อมูลดีๆ เพื่อให้ทุกคนใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าจะจัด Intel หรือ AMD เป็นคอมเครื่องใหม่ในตอนนี้ดี โดยขอย้ำเลยว่า วันนี้เราไม่ใช้ความรู้สึกของแฟนบอยด์ค่ายใดค่ายหนึ่งในการเปรียบเทียบ เพื่อความยุติธรรม D-BUG Computer จะมาเปรียบเทียบกันด้วย “ข้อมูล”เท่านั้น


Intel กับ AMD ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงแตกต่างกัน?

ถึงแม้ว่าทั้งสองค่ายจะผลิต CPU เหมือนกัน แต่ไม่ได้หมายความ CPU ของทั้งสองจะต้อง “เหมือนกัน” เพราะทั้งสองค่ายก็มีโครงสร้าง CPU คนละแบบ


โดย Intel ในสถาปัตยกรรมการผลิตแบบ 10nm Super Fin จะมีโครงสร้าง โหนด (Nodes) ที่ค่อนข้างหนาแน่นมาก ทำให้ประสิทธิภาพจะเน้นหนักไปกับการส่งพลังให้คอร์เดี่ยวเป็นหลัก และแต่ละบล็อก (Blocks) ของ Intel นั้นจะมี L3 Cache เป็นของตนเอง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลปริมาณน้อย ของ Intel จะทำได้เร็วกว่า


ในขณะที่ AMD จะมีโครงสร้างที่แตกต่างจาก Intel เริ่มจาก สถาปัตยกรรม 7nm ของ AMD ที่ผลิตโดย TSMC นั้น มีความหนาแน่น Node น้อยกว่าเล็กน้อย รวมถึง L3 Cache ของ AMD จะเป็นแบบ บล๊อกรวมที่ใช้ได้ทั้วถึงกันทั้งหมด และสเปค L3 Cache ของ AMD จะสูงกว่า Intel เสมอ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากๆ จะทำได้เร็วกว่า แต่ในปริมาณน้อยๆ จะช้ากว่านั่นเอง


Intel กับ AMD ต่างกันอย่างไร ในการใช้งานจริง

หลังจากได้รู้จักโครงสร้างของทั้งสองค่ายแล้ว จะเห็นว่ามันทำงานกันคนละแบบเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อวัดด้วยผล Benchmark และใช้งานจริง จึงทำให้เราเข้าใจแล้วว่าทำไมมันประมวลผลออกมาได้ดังนี้

เพิ่มเพื่อน LINE

  • ในการใช้งานแบบ Single Task เป็นหลัก 
    เช่น การเล่นเกมตระกูลปั่นเฟรมเรต การใช้งานโปรแกรมเดี่ยวๆ ให้ลื่นไหลที่สุด CPU ตระกูล Intel จะเก่งในด้านนี้มากกว่า โดยเฉพาะเรื่องการบริหาร Core E และ Core P ใน Windows 11 ที่รองรับ Intel มากกว่า AMD อยู่ด้วย

  • ในการใช้งานแบบ Multi Task เป็นหลัก
    AMD จะเก่งเรื่องนี้มากกว่า โดยวิธีการทดสอบนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ลองเปิด โปรแกรมหลายๆโปรแกรม แล้วใช้งานหนักพร้อมๆกัน จะสังเกตได้ว่า AMD จะสามารถทำได้ดีมากกว่า Intel 

  • ในการเล่นเกม AMD Ryzen 5000 และ Intel Core Gen 12
    ทำได้ดีทั้งคู่ โดยเฉพาะ Ryzen 5800X3D รุ่นพิเศษ สามารถทำได้ดีไม่แพ้ Intel ทั้ง Single Core และ Multi Core เลยทีเดียว


  • การใช้งานโปรแกรมเครือ Adobe และการเขียนโค้ด Coding
    ทาง Intel จะมีความสเถียรภาพมากกว่า แต่การใช้งานโปรแกรมตัดต่อ หรือทำ 3D (รวมถึงโปรแกรม Adobe บางโปรแกรมที่ใช้ตัดต่อด้วย) ทาง AMD จะประมวลผลได้ไวกว่า เพราะเป็นเรื่องถนัดของเขาเลย

  • ชิป GPU on CPU
    ชิปกราฟิกที่มาพร้อมกับ CPU บางรุ่น ที่จะช่วยเป็นการ์ดจอสำรองในกรณีที่การ์ดจอหลักเรามีปัญหา ทางฝั่ง AMD จะมีคุณภาพที่มากกว่า Intel แบบหลายช่วงตัวเลยทีเดียว ซึ่งใน CPU AMD ตระกูล G นั้น เราสามารถใช้เล่นเกมได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการ์ดจอแยกได้เลยทีเดียว ในขณะที่ Intel ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเล่นเกมได้ดีกว่า แต่ก็สามารถใช้ในการ Encode Video (ดูหนัง , สตรีม) ช่วยลดภาระให้ CPU ได้

  • การปรับแต่ง OC 
    การปรับแต่งความเร็วหรือการ OC นั้น โดยรวมแล้ว Intel ทำได้ง่ายกว่า และเสถียรภาพมากกว่า แต่จะสามารถได้เฉพาะรุ่น K , KF เท่านั้น แต่กลับกันการปรับแต่ง OC ใน AMD ถึงแม้ว่าจะไม่เสถียรภาพเท่า แต่ก็สามารถทำได้หลายหลายกว่า เพราะ AMD ทุกรุ่น รองรับการ OC นั่นเอง


สุดท้ายนี้ ทั้งสองค่าย Intel และ AMD ก็ต่างมีดีทั้งคู่แตกต่างกันไป ทางเรา D-BUG Computer หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือก CPU ทั้งสองค่าย และช่วยตอบคำถามว่า Intel กับ AMD ต่างกันอย่างไร ได้มากที่สุด

เพิ่มเพื่อน LINE